ทักษะโค้ชชิ่ง ความรู้ที่จำเป็นต่อการพัฒนาองค์กรให้อยู่รอด
ยาวไปเลือกอ่าน 📖
เมื่อทุกคนเห็นองค์กรที่สร้างความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ มักเกิดขึ้นที่จุดเริ่มต้นจากประกายความคิดของคนกลุ่มหนึ่ง หรือบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ที่มีเป้าหมาย และความฝันที่มีแรงผลักดัน ลุกขึ้นมาสร้างสิ่งที่สร้างผลลัพธ์ได้อย่างยิ่งใหญ่
สิ่งที่น่าสนใจ คือ ผู้นำที่ประสบความสำเร็จหลายคนต่างก็ออกมาพูดเป็นเสียงเดียวกันก็คือ “พวกเขาไม่มีทางมายืนอยู่ในจุดนี้ได้เลย ถ้าหากว่าพวกเขาไม่มีทีมงานที่ร่วมเดินทางไปด้วยกัน” เพราะสุดท้ายแล้วคนเราก็มีข้อจำกัดทางร่างกาย และมีเวลาเพียง 24 ชั่วโมงต่อวัน“องค์กรเกิดขึ้นด้วยความฝันและจุดมุ่งหมายของคนหนึ่งคน และเติบโตด้วยศักยภาพของคนหลายคน”
ดังนั้นถ้าหากจะบอกว่าองค์กรระดับโลกเกิดขึ้น จากคนเพียงคนเดียวก็คงจะไม่ถูก เพราะองค์กรเหล่านี้สามารถยืนอยู่ได้จนถึงในปัจจุบัน และเติบโตไปได้เรื่อย ๆ ก็เพราะว่าองค์กรเหล่านี้มีคนหลายคนทำงานร่วมกันอยู่นั่นเอง และองค์กรเหล่านี้ต่างก็ขับเคลื่อนด้วยกลยุทธ์บางอย่าง ที่ทำให้บุคคลากรมรผลลัพธ์ที่ยอดเยี่ยม และผลักดันองค์กรไปได้ไกล เปรียบเสมือนเป็นองค์กรของพวกเขาเอง กลยุทธ์นั้นก็คือ “ศาสตร์การโค้ชชิ่ง” องค์กรเหล่านี้จะไม่ได้ใช้วิธีการสอน และบีบบังคับให้คนในองค์กรทำตามคำสั่งเพียงอย่างเดียว ไม่อย่างนั้นทุกคนในองค์กรก็จะเป็นเหมือนกันหมดทุกคน “แล้วองค์กรเหล่านี้พัฒนาบุคลากรของพวกเขาอย่างไร ?” ศาสตร์หนึ่งศาสตร์ที่เป็นตัวตั้งต้นให้ทุกคนเริ่มเห็นเส้นทางชีวิต และเป้าหมายของเราในหลายๆมิติ คือ “ศาสตร์การโค้ชชิ่ง” วันนี้ LifeEnricher จะมาสรุปให้ได้อ่านกัน
ทักษะโค้ชชิ่งในบริษัทชั้นนำ มีอะไรบ้าง ?
แน่นอนว่าทักษะที่สามารถดึงศักยภาพของผู้คนออกมาได้อย่างเต็มที่ถูกใช้ในองค์กรชั้นนำระดับโลกหลายองค์กรอยู่แล้ว และหนึ่งในองค์กรที่เลือกใช้ประโยชน์จากศาสตร์การโค้ชชิ่งในการพัฒนาองค์กรก็คือ Google นั่นเอง Google มีนโยบายในการพัฒนาบุลากรด้วยการเปลี่ยนผู้นำทั้งหลายให้เป็นโค้ชที่ยอดเยี่ยม ซึ่ง Google ได้ให้ความหมายของการเป็นโค้ชที่ยอดเยี่ยมอยู่ 6 ข้อก็คือ
1. สามารถสะท้อนได้อย่างเฉพาะเจาะจงตามเวลาที่เหมาะสม
2. สามารถสะท้อนได้อย่างตรงไปตรงมาด้วยการวิธีการพูดเชิงสร้างสรรค์
3. สามารถปรับการสื่อสารให้เหมาะสมกับโค้ชชี่ (คนที่ต้องการผลลัพธ์) ได้เพื่อผลลัพธ์สูงสุด
4. มีความสามารถในการจดจ่อเพื่อต้องฟังในระดับสูง
5. ไม่ใช้ความคิดเห็นของตัวเองในการตัดสิน
6. ใช้คำถามปลายเปิดเพื่อกระตุ้นให้หาคำตอบของตัวเอง ซึ่งทักษะ 6 ข้อที่กล่าวมานี้ เป็นองค์ประกอบที่ทำให้เหล่าบุคคลากรหรือผู้นำ สามารถทะลุขีดจำกัดเดิมของตัวเอง และนำพาให้คนในทีมมีการสื่อสารที่ดี และมีผลลัพธ์ทีดีขึ้นตามมา Google จะใช้ GROW model ในการโค้ชแต่ละครั้ง ซึ่งการสื่อสารเหล่านี้สามารถใช้ได้กับบุคคลากรทุกระดับ ตั้งแต่ C- Level ไปถึงระดับ Operation
GROW MODEL คืออะไร ประกอบไปด้วยอะไรบ้าง ?
GROW Model คือ โมเดลที่ใช้ในกระบวนการโค้ชชิ่ง ซึ่งช่วยในการกำหนดเป้าหมาย และพัฒนาความสามารถในการแก้ไขปัญหาของบุคคลได้
GROW MODEL คืออะไร ประกอบไปด้วยอะไรบ้าง ?
( G ) oal – คุณต้องการอะไร ?
ทุกอย่างเริ่มต้นด้วยการตั้งเป้าหมาย เพราะถ้าหากว่าคุณไม่มีเป้าหมายที่ชัดเจนแล้วก็แทบจะเป็นไปไม่ได้เลยที่จะเห็นหนทางในการพัฒนาตัวเอง ซึ่ง Google ใช้ OKRs ( Objective key results ) ในการสร้างเป้าหมายที่ดีให้กับทีมงาน และเป้าหมายเหล่านั้นก็มีองค์ประกอบตามหลัก SMART อีกด้วย
( R ) eality – ปัจจุบันเกิดอะไรขึ้น ?
เมื่อเห็นเป้าหมายตรงหน้าแล้ว ก่อนจะเริ่มออกเดินทางก็จำเป็นจะต้องรู้จุดยืนของตัวเองก่อนว่าตอนนี้เรายืนอยู่ตรงไหน เรากำลังเจอปัญหาอะไรอยู่ในปัจจุบัน และอะไรที่เป็นอุปสรรคของเรา จุดนี้จะทำให้หัวหน้ากับลูกน้องพัฒนากลายเป็นทีมเดียวกันได้อย่างแท้จริง เพราะผู้นำจะมีโอกาสได้รับรู้สถานการณ์ของบุคลากรในทีมแต่ละคนที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งโดยปกติแล้วผู้คนจะมีมุมมองที่แตกต่างกัน แต่การปรับมุมมองให้ตรงกันทำให้สามารถเห็นภาพและจัดการกับปัญหาได้อย่างตรงจุดมากยิ่งขึ้น
( O ) ption – ทางเลือกของเรามีอะไรบ้าง ?
เมื่อเห็นจุดยืนของตัวเอง เห็นปัญหาและอุปสรรคแล้ว ต่อไปคือการมองหาทางเลือกว่า ด้วยทรัพยากรที่เรามี เรามีทางเลือกอะไรในการจัดการกับปัญหาที่อยู่ตรงหน้าได้บ้าง พยายามมองหาความเป็นไปได้ทั้งหมดที่จะสามารถเอามาใช้ในเหตุการณ์ปัจจุบันได้ จุดนี้เป็นจุดสำคัญที่ผู้นำจะเห็นการเปลี่ยนแปลงและการคิดแก้ปัญหาของบุคลากรในทีม จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ผู้นำที่อยู่ในฐานะโค้ชควรหลีกเลี่ยงในการให้คำแนะนำ เพราะการให้คำแนะนำอาจจะช่วยแก้ปัญหาระยะสั้นได้ แต่ในระยะยาวคุณจะไม่เห็นการเติบโตของทีมงานคุณเท่าที่ควร
( W ) ill – คุณจะทำอะไรบ้าง ?
หลังจากที่เห็นทางเลือกทั้งหมดแล้ว นี่คือจุดที่จะทำให้ทีมงานของคุณวางแผนการจัดการกับปัญหาของพวกเขาด้วยตัวของพวกเขาเองผ่านคำถามโค้ชชิ่ง แน่นอนว่าคนที่วางแผนก็ต้องเป็นทีมของคุณที่กำลังพยายามเติบโตอยู่แล้ว ดังนั้นการเปิดโอกาสให้พวกเขาได้เลือกทางเดินของตัวเองจะทำให้พวกเขามีแรงผลักดันในการลงมือทำมากกว่าการโดนสั่งให้เดินตามทางที่หัวหน้าเห็นว่าดีอย่างแน่นอน
ตัวอย่างสถานการณ์การใช้ GROW MODEL
สมมติว่าในบริษัทหนึ่ง ทีม MARKETING กำลังเผชิญกับปัญหายอดขายที่ลดลงอย่างต่อเนื่องในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา ผู้จัดการทีมจึงทำการประชุมเพื่อหาทางแก้ไขปัญหานี้ และใช้ GROW Model เป็นกรอบในการวิเคราะห์ และ Brainstorm กับทีมเพื่อหาทางแก้ไข
- Goal (เป้าหมาย) : “เพิ่มยอดขายกลับมาอยู่ในระดับที่สูงกว่า 20% ภายในระยะเวลา 3 เดือน”
- Reality (ความเป็นจริง) : ทีมงานพบว่าปัญหาที่เจอในปัจจุบัน คือ ลูกค้าเป้าหมายมีความสนใจลดลงในผลิตภัณฑ์ปัจจุบัน เนื่องจากมีคู่แข่งที่มีผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจมากกว่า นอกจากนี้การโฆษณาในช่องทางออนไลน์ก็ไม่ได้ผลลัพธ์ที่ดีเท่าที่ควร
– เมื่อทีมงานพิจารณาปัญหาที่เป็นอยู่แล้ว พวกเขาเริ่มมองหาทางเลือกที่สามารถนำมาใช้ได้ โดยไม่ต้องรอคำแนะนำจากผู้จัดการ โดยทุกคน Brainstorm และได้ไอเดีย ดังนี้”>- พัฒนาและปรับปรุงผลิตภัณฑ์ : ทีมงานคิดว่าอาจต้องมีการปรับปรุงผลิตภัณฑ์เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้ามากขึ้น เช่น การเพิ่ม Feature ใหม่ หรือการปรับ Design ของสินค้า
– ปรับปลี่ยนกลุ่มเป้าหมาย : ทีมงานพิจารณาว่าบางทีการมุ่งเน้นไปที่กลุ่มเป้าหมายใหม่ที่ยังไม่ถูกเข้าถึงมากพอ อาจเป็นทางเลือกที่น่าสนใจ เช่น ขยายไปยังตลาดใหม่ หรือกลุ่มผู้บริโภคใหม่
– เพิ่มช่องทางการขาย : ทีมงานเห็นว่าสามารถขยายการขายไปยังแพลตฟอร์มใหม่ๆ เช่น การร่วมมือกับพันธมิตรทางธุรกิจ หรือการเข้าร่วมงานแสดงสินค้า
– ฝึกอบรมทีมขาย : ทีมงานคิดว่าควรมีการฝึกอบรมพนักงานขายเพิ่มเติม เพื่อเสริมทักษะการขายและการสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า
- Will (แรงจูงใจจะเลือกทำ) : หลังจากพิจารณาทางเลือกต่างๆ ทีมงานเลือกที่จะปรับกลยุทธ์การตลาดและพัฒนาและปรับปรุงผลิตภัณฑ์ โดยพวกเขามีความมุ่งมั่นที่จะเริ่มต้นการดำเนินงานทันที และตั้งเป้าหมายในการติดตามผลทุกสองสัปดาห์ เพื่อปรับปรุงตามความจำเป็น
สรุป
ใครที่อ่านมาถึงตรงนี้ !
หากคุณให้ความสนใจในด้านการพัฒนาบคลากรในองค์กร หรือยกระดับมาตรฐาน Skills ของทีมงานคุณ LifeEnicher เรามีหลักสูตรเฉพาะในด้านการพัฒนาคนมากมาย !
ที่สำคัญ 🎯 หลักสูตรของเราออกแบบ ตามความต้องการหรือปัญหาขององค์กรคุณได้เลยนะ!
ลองฟังคลิปนี้ 👇🏻 และคุณจะรู้ว่าทักษะโค้ชชิ่ง สามารถส่งผลต่อองค์กรได้ของคุณได้อย่างไร
👥 หลักสูตรการอบรมพนักงานภายในองค์กร มีอะไรบ้าง?
- Unleash the Leadership Potential : หลักสูตรนี้ออกแบบมาเพื่อปลดล็อกศักยภาพผู้นำในตัวคุณ และพัฒนาทักษะที่จำเป็นสำหรับการเป็นผู้นำที่ยอดเยี่ยม เพื่อผลักดันองค์กรไปข้างหน้า
- พัฒนาทักษะการโค้ช
- พัฒนาทักษะจิตวิทยาสำหรับผู้นำระดับสูง
- พัฒนาทักษะการบริหารคน
- พัฒนาผู้นำที่สร้างแรงบันดาลใจ กระตุ้นความร่วมมือกันในทีม
- Effective Communication Skills for Influence and : หลักสูตรนี้ออกแบบมาเพื่อเสริมสร้างทักษะการสื่อสาร ที่ไม่เพียงแต่ทำให้คุณสื่อสารได้ยอดเยี่ยม แต่ยังช่วยให้คุณสามารถสร้่าง Impact และเป็นแรงบันดาลใจให้ผู้คนได้ในระยะยาว
- พัฒนาทักษะการฟังเชิงลึก
- พัฒนาทักษะการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยการวิเคราะห์คนแต่ละประเภท
- การจัดการความขัดแย้งในองค์กร
- พัฒนาทักษะการเจรจาต่อรอง
- Effective Communication Skills for Influence and : หลักสูตรนี้ออกแบบมาเพื่อช่วยเรื่องการจัดการความเครียด การจัดการณ์อารมณ์อย่างมีประสิทธิภาพ และการทำงานอย่างมีความสุข
- พัฒนาทักษะการเท่าทัน และจัดการอารมณ์ ลดความเครียด และความวิตกกังวล
- สร้างความสงบในจิตใจ และสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- กระตุ้นและพัฒนาทีมงานด้วย EQ
สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ หรือช่องทางการติดต่อด้านล่าง
โทร : 0936955699 (คุณจีจี้) / 0949994922 (คุณเฟียส)
บทความที่เกี่ยวข้อง