เช็คด่วน อาการเครียดสะสมที่ต้องระวัง มีผลร้ายมากกว่าที่คิด!

เช็ก 10 สัญญาณที่บอกว่า "คุณกำลังเครียดสะสม"

ยาวไปเลือกอ่าน 📖

ความเครียดสะสมคืออะไร ทำไมควรให้ความสำคัญ ?

     ความเครียด เป็นสภาวะที่เกิดขึ้น เมื่อทั้งกายและใจเราเจอเวลาต้องเผชิญอะไรยาก ๆ หรือกดดัน หากสะสมไปเรื่อย ๆ จะส่งผลกระทบด้านได้ทั้งสุขภาพร่างกาย จิตใจ แถมยังกระทบความสัมพันธ์กับคนรอบข้างด้วย วันนี้เรามาเช็ก 10 สัญญาณ! ที่บอกว่าคุณอาจจะกำลังเครียดสะสมโดยไม่รู้ตัวกัน

🚨 10 สัญญาณที่บอกว่าคุณกำลังเครียดสะสมอยู่

1. เหนื่อยเรื้อรังแบบไม่หาย

     คุณจะรู้สึกเพลีย ๆ อ่อนแรงตลอดเวลา ไม่ว่าจะนอนเยอะแค่ไหนก็ตาม ตื่นเช้ามาคุณจะเจอกับความรู้สึกที่ไม่สดชื่น เกิดจากความเครียดสะสมที่ทำให้คุณเหนื่อยเรื้อรัง ผลมาจากร่างกายและสมองใช้พลังงานมากเกินไป และเกิดวงจรของความเหนื่อยล้าที่ทำให้ยิ่งเครียดและเหนื่อยมากขึ้นเรื่อย ๆ  ซึ่งจะทำให้คุณได้รับผลกระทบหลายด้าน บางวันอาจทำให้คุณรู้สึกไม่อยากทำงาน หรือไม่อยากทำอะไรเลย  ใช้ชีวิตลำบากมากขึ้น ถ้าปล่อยไว้นาน ๆ อาจจะรู้สึกหมดแรง และเจอกับสภาวะไม่มีความสุขกับอะไรเลย

2. นอนไม่ค่อยหลับ

     นอนยาก ตื่นกลางดึกบ่อย ๆ หรือนอนเยอะแค่ไหนก็ไม่สดชื่น เป็นเพราะความเครียดที่เกิดจากสมองไม่ยอมหยุดคิด ทำให้คิดวนเวียน กังวล วางแผน แก้ปัญหาไม่หยุด แม้ในเวลาที่ควรพัก สมองก็ไม่สามารถผ่อนคลายได้  และทำให้เช้าวันต่อไม่ Productive ส่งผลให้การทำงานไม่ดีไปด้วย

3. มีอารมณ์เศร้าเยอะกว่าอารมณ์อื่น ๆ

     รู้สึกหดหู่ สิ้นหวัง หรือไม่อยากทำอะไรเลย นี่ก็เป็นผลจากความเครียดสะสม ที่บางทีคุณอาจจะรู้สึกว่าสิ่งที่เคยชอบมันไม่สนุกอีกต่อไป หรืออารมณ์ขึ้น ๆ ลง ๆ แบบไม่มีเหตุผล อาการที่เกิดขึ้นนี้ ก็อาจเป็นสัญญาณของการหมด Passion หรือที่เรียกว่า “Burnout” ได้เช่นกัน 

สิ่งที่สำคัญคือต้องแยกแยะ ว่านี่เป็นเพียงภาวะชั่วคราวหรือเรื้อรัง ถ้าเป็นแบบนี้ต่อเนื่องนาน ๆ อาจต้องพิจารณาปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ เช่น นักจิตวิทยาหรือจิตแพทย์ เพื่อหาทางแก้ไขที่เหมาะสม การพักผ่อน ปรับสมดุลชีวิต และหาแรงบันดาลใจใหม่ ๆ อาจช่วยฟื้นฟู Passion ของคุณได้

4. มีอารมณ์โมโหง่าย หงุดหงิดบ่อย หยุดกังวัลไม่ได้
      ความเครียดสะสมสามารถทำให้เราควบคุมอารมณ์ได้ยากขึ้น เมื่อเครียด ร่างกายจะตอบสนองด้วยการเพิ่มระดับฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับการตอบสนองต่อภาวะฉุกเฉิน ทำให้คุณรู้สึกโกรธหรือหงุดหงิดง่ายขึ้น บางครั้งอาจโกรธรุนแรงและไม่สามารถระบายออกได้อย่างถูกวิธี  หรือรู้สึกกังวลใจโดยไม่มีเหตุผลชัดเจน ถ้าคุณมีสัญญาณแบบนี้เกิดขึ้น อาจเป็นสัญญาณว่าความเครียดเริ่มมีผลกระทบต่อจิตใจ และร่างกายของคุณแล้ว

5. รู้สึกกลัว หรือวิตกกังวลแบบรุนแรง
     เกิดความรู้สึกกลัว หรือวิตกกังวลอย่างกะทันหันและรุนแรง  จะแสดงออกมาทางกายภาพ เช่น หัวใจเต้นเร็ว เหงื่อออก หรือหายใจไม่ออก ความเครียดที่สะสมที่มีอยู่จะทำให้ร่างกายอยู่ในภาวะ “ต่อสู้หรือหนี” อย่างต่อเนื่อง ทำให้สมองคุณจะเลือกตอบสนองต่อสิ่งเร้าในลักษณะที่เกินจริง  ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องระวังมาก ๆ เลยครับ เพราะบางคนอาจแสดงออกด้านพฤติกรรมเพื่อรับมือกับความรู้สึกเหล่านี้อยู่แบบไม่รู้ตัว เช่น กินจุมากขึ้นแบบผิดปกติ หรือไม่อยากกินอะไรเลย น้ำหนักขึ้นลงผิดปกติก็เป็นสัญญาณนึงที่ควรตั้งสังเกต 

6.มีความสามารถในการโฟกัสลดลง
    นั่งทำงานไม่นานก็วอกแวกแล้ว มีอาการหลงลืมบ่อยทั้งที่เมื่อก่อนความจำดีมาก แม้แต่เรื่องง่าย ๆ ก็ตัดสินใจยากขึ้น บางทีก็รู้สึกว่าสมองมันมึน ๆ งง ๆ ไม่แจ่มใสเหมือนเดิม เกิดจากความเครียดที่รบกวนระบบประสาท ทำให้สมองไม่สามารถทำงานอย่างมีประสิทธิภาพได้ ร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอลที่สูงเกินไป ทำให้กระบวนการคิดและการตัดสินใจถูกทำลายไปนั่นเอง

7. เริ่มมีอาการป่วยทางกาย
     ร่างกายเราเริ่มส่งสัญญาณแล้วว่ามันทนไม่ไหว ส่งผลให้จะเริ่มมีอาการปวดหัวเรื้อรัง ปวดหัวบ่อยแบบไม่มีสาเหตุ บางทีก็ปวดกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะบริเวณบ่าและหลัง ทั้ง ๆ ที่ไม่ได้ออกกำลังกายหนักเลย หรือมีปัญหาการย่อยอาหารโดยไม่มีสาเหตุ ท้องอืด ท้องเสียบ่อย หรือแม้แต่อาการปวดไมเกรนที่บ่อยผิดปกติ ปวดหัวข้างเดียวแบบรุนแรงจนต้องหยุดทำทุกอย่าง

8. นิสัยการกินเปลี่ยน
จากข้อ 3-5  ที่พูดไป ไม่ว่าจะอารมณ์เศร้า โกรธ และวิตกกังวล ส่งผลให้พฤติกรรมการกินเปลี่ยนแปลงได้ทั้งหมด  บางคนอาจกินมากขึ้นเพื่อระบายอารมณ์ ส่วนบางคนอาจเบื่ออาหารและไม่อยากกินอะไรเลย  เนื่องจากการกินที่เปลี่ยนไปส่งผลให้น้ำหนักแปรปรวน ไม่ว่าจะขึ้นสูง หรือลดฮวบจนคนทัก พฤติกรรมการกินที่เปลี่ยนแปลงนี้เป็นวิธีที่ร่างกายและจิตใจพยายามปรับตัวและหาทางรับมือกับอารมณ์ที่ไม่สมดุล เมื่อความเครียดและอารมณ์เหล่านี้ได้รับการจัดการอย่างถูกต้อง พฤติกรรมการกินก็จะกลับมาสู่สภาวะปกติได้

10 สัญญาณความเครียดสะสมที่คุณควรระวัง

9. การแยกตัวออกจากสังคม

เมื่อก่อนชอบออกไปเจอเพื่อน แต่ตอนนี้รู้สึกไม่อยากออกไปสังสรรค์เลย แยกตัวจากเพื่อนและครอบครัว ไม่ค่อยตอบข้อความหรือรับสาย ชอบแยกตัวอยู่คนเดียวมากขึ้นผิดปกติ บางทีก็รู้สึกว่าไม่มีใครเข้าใจเรา หรือไม่อยากเป็นภาระให้ใคร เลยเลือกที่จะอยู่คนเดียวมากกว่า  การแยกตัวนี้อาจเป็นวิธีที่จิตใจใช้เพื่อหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้ากับสิ่งที่สร้างความเครียด ซึ่งถ้าเราไม่สามารถมีวิธีจัดการกับมันได้อย่างถูกต้อง อาจทำให้คุณรู้สึกโดดเดี่ยว และตกอยู่ในภาวะซึมเศร้าในที่สุด

10. การเสพบางอย่างอย่างต่อเนื่อง
 เริ่มพึ่งพาสิ่งต่าง ๆ เพื่อบรรเทาความเครียด ไม่ว่าจะเป็นการดื่มแอลกอฮอล์บ่อยขึ้น ยกตัวอย่างเช่น จากที่เคยดื่มแค่วันเสาร์ กลายเป็นดื่มทุกเย็นหลังเลิกงาน หรือการกินยาคลายเครียด ยานอนหลับ โดยไม่ปรึกษาแพทย์ หรือแม้แต่การกระทำบางอย่างซ้ำแล้วซ้ำเล่า เช่น เล่นเกมติดต่อกันหลายชั่วโมง ช้อปปิ้งออนไลน์แบบไม่ยั้ง เพื่อหาความสุขชั่วคราว

 

แต่ละสัญญาณที่กล่าวมานี้ ถ้าเกิดขึ้นนาน ๆ หรือหลาย ๆ อย่างพร้อมกัน ก็อาจเป็นสัญญาณบอกว่าคุณเครียดสะสมมากเกินไปแล้วนะ ถึงเวลาต้องหยุดและดูแลตัวเองได้แล้วล่ะ!  วันนี้ LifeEnricher เลยสรุปวิธีการรับมือมาเป็นตัวช่วยให้คุณทั้งหมด  5 ข้อครับ ❤️

วิธีรับมือและป้องกันความเครียดสะสม

การจัดการกับความเครียดสะสมเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ๆ เพื่อรักษาทั้งสุขภาพกายและใจ ที่ทำได้ง่าย ๆ เพื่อไม่ให้ความเครียดกลายเป็นปัญหาใหญ่ มาดูกันเลยมีอะไรบ้าง!
วิธีรับมือและป้องกันความเครียดสะสม

1. รู้เท่าทันตัวเอง คุยกับตัวเองบ้าง

  • ลองฝึกสังเกตตัวเองว่าเรารู้สึกยังไง ทำไมถึงรู้สึกแบบนั้น
  • จดบันทึกความรู้สึกประจำวัน แบบง่าย ๆ เขียนสั้น ๆ ว่าวันนี้เป็นยังไงบ้าง ?
  • พูดคุยกับตัวเองในแง่บวก เช่น “เราทำได้ดีแล้วนะ” หรือ “ไม่เป็นไร พรุ่งนี้ลองใหม่” หรือเสพสื่อเชิงบวก เพื่อให้กำลังใจตัวเราอย่างสม่ำเสมอ
  • ฝึกยอมรับความรู้สึกของตัวเอง ไม่ต้องกดอารมณ์หรือหนีจากมัน

2. ฝึกสมาธิและการหายใจ

  • ลองฝึกนั่งสมาธิวันละ 5-10 นาที เริ่มจากน้อย ๆ ก่อนก็ได้
  • ฝึกหายใจลึก ๆ ช้า ๆ โดยเฉพาะเวลารู้สึกเครียด

3. จัดการกับความคิด

  • ฝึกคิดบวก มองหาข้อดีในสถานการณ์ต่าง ๆ
  • ตั้งเป้าหมายเล็ก ๆ ที่ทำได้จริง แล้วชื่นชมตัวเองเมื่อทำสำเร็จเรียนรู้ที่จะปล่อยวางบ้าง ไม่ต้องควบคุมทุกอย่าง
  • เปิดใจคุยกับเพื่อนสนิทหรือครอบครัว ถ้ารู้สึกว่าหนักเกินไป ลองปรึกษานักจิตวิทยาหรือจิตแพทย์ดู

4. ดูแลสุขภาพกาย

  • พักผ่อนให้เพียงพอ พยายามเข้านอนและตื่นเป็นเวลา
  • กินอาหารที่มีประโยชน์ ดื่มน้ำเยอะ ๆ
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ แค่เดินวันละ 30 นาที ก็ช่วยได้มากแล้ว

5. สะกดจิตบำบัด
     วิธี “การสะกดจิตบำบัด” ก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยจัดการกับความเครียดและอารมณ์แย่ ๆ จากเรื่องในอดีตและจิตใต้สำนึกได้ โดยใช้หลักวิทยาศาสตร์ 100%  การสะกดจิตบำบัดช่วยให้เราเข้าใจตัวเองมากขึ้น มันช่วยค้นหาต้นตอความเครียดที่เราอาจไม่รู้ตัว และปลดปล่อยอารมณ์ที่อัดอั้นได้ ทำให้เรากลับมามีชีวิตที่สมดุล และมีความสุขมากขึ้นได้

 

ใครอยากเข้าใจศาสตร์นี้เพิ่มมากขึ้น คลิปด้านล่างนี้มีคำตอบให้ครับ 👇🏻

สรุป

     การเช็กสัญญาณของความเครียดสะสมเป็นก้าวแรกที่สำคัญมากในการเริ่มดูแลจิตใจ ความเครียดสามารถจัดการได้ ถ้าเรารู้วิธีรับมืออย่างถูกต้อง อย่าปล่อยให้มันสะสมจนกลายเป็นปัญหาใหญ่ที่ส่งผลกระทบกับชีวิตประจำวันของเรา ลองหาวิธีที่เหมาะกับตัวเอง เช่นการฝึกมีสติ เท่าทันตัวเอง 💡 ลองอ่านเพิ่มเติม > วิธีฝึกสติในชีวิตประจำวัน ลดความเครียดภายได้ใน 5 นาที  และอย่าลืมว่าเราสามารถกลับมามีชีวิตที่สมดุล และมีความสุขได้อีกครั้งนะครับ!

ใครอ่านมาถึงตรงนี้ และสนใจใช้ศาสตร์การสะกดจิต เป็นทางลัดในการช่วยบำบัดอารมณ์ลบ ความเครียด ความกลัวที่ติดตัวคุณมานาน  หลักสูตรนี้คือคำตอบสำหรับคุณครับ

หลักสูตรสะกดจิตบำบัดอารมณ์ (Emotional Hypnotic Theray) คือสุดยอดเครื่องมือการพัฒนาตัวเองในการโปรแกรมสมอง จิตใต้สำนึก และสภาวะอารมณ์ที่สอดคล้องกับผลลัพธ์ที่ต้องการในชีวิต เป็นทางลัดสู่การพัฒนาตัวเองเเบบก้าวกระโดด หรืออยากเรียนรู้เกี่ยวกับ NLP เพิ่มเติม  ในหลักสูตรจิตวิทยาสื่อประสาท 7 วันที่พลิกวิธีคิดต่อความสำเร็จ และความสุขในชีวิตของคุณไปตลอดกาลเลยครับ

🚀  ใครสนใจเรียนฟรี ! โอมมีสอนหลักสูตรพื้นฐาน (Introduction to EHT)

แจกเทคนิคที่จะทำให้คุณสามารถจัดการความเครียดและความกังวลผ่านศาสตร์การสะกดจิตบำบัด “EHT” ใน 2 ชั่วโมง พร้อม Workshop พิเศษ !!ให้คุณได้สัมผัสการเรียนรู้ที่เข้มข้น และได้พัฒนาด้านอารมณ์ของตัวเองอย่างเต็มที่

Previous slide
Next slide

สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่  หรือช่องทางการติดต่อด้านล่าง

 โทร  : 0936955699 (คุณจีจี้)  / 0949994922  (คุณเฟียส)